auto ads

Amps

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

มังกรจีน มีส่วนผสม จาก สัตว์หลายสายพันธุ์ มีอะไรบ้าง ลักษณะของมังกรจีนเป็นอย่างไร

 มังกรจีน มาจากสัตว์อะไรบ้าง

มังกรจีนมีลักษณะที่มาจากสัตว์หลาย ชนิดคือ
  • มีหัวเหมือนของอูฐ
  • เขาเหมือนของกวาง
  • ตาเหมือนของกระต่าย หรือปีศาจ
  • หูเหมือนของวัว
  • คอเหมือนของงู หรืออีกัวน่า
  • ตัวเหมือนของงู
  • เท้าเหมือนของเสือ
  • กรงเล็บเหมือนของนกอินทรีย์
  • ท้องเหมือนของกบหรือหอยกาบ
  • เกล็ดเหมือนของปลาคาร์ฟ
  • มีเขี้ยวขนาดใหญ่หนึ่งคู่อยู่ที่ขากรรไกรบน
  • มีหนวดยาวลักษณะเหมือนไม้เลื้อย อยู่บน คาง
  • มีแผงคอเหมือนของสิงโตอยู่บน คอ
  • ข้อศอก มังกรจีนมีเกล็ด 117 แผ่น ซึ่ง 81 แผ่นเป็นหยางมีความดี 36 แผ่นเป็นหยินมีความชั่ว
  • มีสันหลังทอดยาวไปตามหลังและหาง เป็นหนามยาวและสั้นสลับกัน
  • มังกรจีนมีโหนกอยู่บนหัวซึ่งทำให้เขาสามารถบินได้ เรียกว่า เชด เม่อ (ch’ih muh)
  • ถ้า ไม่มีโหนกนี่เขาจะกำคทาเล็กๆที่เรียกว่า โพ เชน (po-shan) ซึ่งสามารถทำให้เขาลอยได้

สีของมังกรจีน

สีของมังกรจีน มีหลากหลาย ตั้งแต่แกมเขียวจนถึงทอง หรือบางแหล่งว่ามังกรจีนมีสี น้ำเงิน ,ดำ ,ขาว ,แดง ,เขียว หรือ เหลือง
แต่ในกรณีของมังกรชนิด ไชโอะ (chiao) หลังของเขาเป็นสีเขียว ด้านข้างเป็นสีเหลือง และใต้ท้องเป็นสีแดงเข้ม

ลักษณะของมังกรจีน บางชนิด

  • มีปีกที่ด้านข้าง และ เดินบนน้ำได้
  • สะบักแผงคอของเขาไปข้างหน้าและข้างหลัง ทำให้เสียง ของมังกรฟังดูเหมือนขลุ่ย
  • มังกรจีนในตำนานสามารถทำตัวเองให้ใหญ่เท่ากับจักรวาล หรือเท่ากับหนอนไหมได้

ลักษณะนิสัยของมังกรจีน

มังกรจีนมีนิสัยเมตตากรุณา ,เป็นมิตร ,ทะเยอทะยาน และ มองโลกในแง่ดี นอกจากนี้มังกรจีนฉลาด ,มีปัญญามาก ,มีความเด็ดขาด และมีพลัง เขาจึงเป็นที่ปรึกษาของผู้นำ
แต่มังกรจีนมีทิฐิ เขาจะถือว่าถูกหมิ่นประมาทเมื่อ ผู้นำไม่ทำตามคำแนะนำ หรือ เมื่อผู้คนไม่เคารพ ไม่เห็นความสำคัญของเขา

อิทธิฤทธิ์ของมังกรจีน

มังกรจีน สามารถทำให้ฝนหยุดตก หรือ เป่าเมฆดำออกกลายเป็นพายุ และ น้ำท่วม
มังกรตัวเล็กก็ทำเรื่องยุ่งยากเล็กๆ เช่น ทำหลังคารั่ว หรือ ทำให้ข้าว หก เรี่ยราดข้าวของกระจุยกระจาย เหนอะหนะ

มังกรจีนมีเก้าชนิด

  1. มังกรมีเขา หรือ หล่ง (lung) มีอำนาจมากที่สุดสามารถทำให้เกิดฝนได้ และ หูหนวก
  2. มังกรมีปีก เรียกว่า ยิ่น หล่ง (Ying-lung)
  3. มังกรสวรรค์หรือมังกรฟ้าเรียกว่า ทิ่น หล่ง (T’ien-Lung) มังกรจีนชนิดนี้ ทำหน้าที่ ปกป้องคฤหาสน์สวรรค์ของเทพเจ้า
  4. มังกรวิญญาณเรียกว่า เชน หล่ง (Shen-Lung) ที่ทำให้เกิดลม และ ฝน พอเหมาะ เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
  5. มังกรแห่งขุมทรัพย์ ทรัพยากรธรรมชาติ หรือ แห่งขุมทรัพย์ลึกลับ เรียกว่า ฟู แซง (Fu-tsang) หรือ ฝัดซ์ หล่ง (Fut’s-Lung ,มังกรใต้ดิน) มังกรจีนชนิดนี้ ดูแลขุมทรัพย์ที่ช่อนอยู่ หรือโลหะมีค่า และอัญมณี
  6. มังกรขด (ซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ)
  7. มังกรเหลือง เป็นตำนาน โผล่ขึ้นมาจากน้ำครั้งหนึ่ง และ นำเสนอปัจจัยสำคัญของการเขียนให้กับจักรพรรดิ ฟู ซาย (Fu Shi)
  8. มังกรไร้บ้านเรียกว่า อี่ (Ii) อาศัยอยู่ในมหาสมุทร อีกชนิดเรียกว่า ไชโอะ มีเกล็ดปกคลุม และ มักจะอาศัยอยู่ในหนองน้ำ ที่มีถ้ำอยู่ในภูเขา
  9. พญามังกร คือมังกร 4 ตัว ซึ่งปกครองอยู่เหนือทะเลทั้งสี่ คือทะเล ตะวันออก(ตัง) ,ใต้(น่ำ) ,ตะวันตก(ไซ) และเหนือ(ปัก) พญามังกรอาศัยอยู่ในปราสาทมหาสมุทรหรูหรา(วังใต้ทะเล) และกินไข่มุกเจียงตู หรือไข่มุก และโอปอล เป็นอาหาร และพญามังกรทั้งสี่ตัวเป็นพี่น้องกัน บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่ามังกร 4 ตัวนี้มีผู้ควบคุมชื่อ ฉิน แท็ง (Chien-Tang) เป็นมังกรที่มีสีแดงเลือด มีแผงคอเป็นไฟ และยาว 900 ฟุต
คนจีนแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามประเพณี แต่ละอย่างแสดงถึงลักษณะของมังกรที่แตกต่างกัน (บางแหล่งมีชื่อของมังกรแต่ละอย่างด้วย)

สัญลักษณ์ของมังกรจีนที่ถูกแกะสลักไว้ตามสถานที่ต่างๆ

  • มังกรชื่อ พิว โหล (p’u lao) ถูกสลักบนยอดของระฆังและฆ้องเพราะว่าเขามีนิสัยชอบส่งเสียงร้องดังเมื่อถูกโจมตี
  • มังกรชื่อ ไชยู (ch’iu) อยู่บนที่หมุนของซอตั้งแต่มังกรส่วนมากชอบดนตรี
  • มังกรชื่อ ไพ ไซ (pi his) ถูกสลักที่ส่วนบนของโต๊ะหินเนื่องจากความรักของมังกรที่มีต่อวรรณคดี
  • มังกรชื่อ พา ไซ อะ (pa hsai) พบได้ที่ฐานของอนุสาวรีย์หินในฐานะที่มังกรสามารถรับน้ำหนักมากได้
  • มังกรชื่อ เชโอะ เฟ่ง (chao feng) วางอยู่ที่ชายคาของวัดในฐานะที่มังกรตื่นตัวต่ออันตรายเสมอ
  • มังกรชื่อ เช่ย (ch’ih) ปรากฏบนคานของสะพานตั้งแต่มังกรชอบน้ำ
  • มังกรชื่อ ซ่วง หนี่ (Suan ni) ถูกสลักบนบัลลังก์ของพระพุทธรูปในถานะที่มังกรชอบพักผ่อน
  • มังกรชื่อ เย่ สึ (Yai tzu) ถูกสลักบนด้ามดาบ ตั้งแต่มังกรถูกรู้ว่ามีความสามารถที่จะฆ่าได้
  • มังกรชื่อ ไพ ฮั่น (pi han) ถูกสลักบนประตูคุก เพราะมีมังกรที่ชอบการทะเลาะ และ การสร้างปัญหา
เครดิตภาพ คณะมังกรทองปากน้ำโพ และ ชาวนครสวรรค์