auto ads

Amps

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

รัฐสวัสดิการประเทศสวีเดน

ประเทศสวีเดน สอนให้คนขี้เกียจ จริงหรือ

"ประเทศนี้เป็นยังไง สอนให้คนขี้เกียจ เอะอะอะไรก็ให้ลาให้หยุดโดยที่เงินเดือนก็ได้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วลูกสาวคนเล็กไม่สบาย พ่อแม่ก็ผลัดดูแลอยู่บ้านกันคนละวันสองวัน แถมรัฐจ่ายเงินให้เราอยู่บ้านดูลูกอีก พอเบื่อๆก็พาไปห้องสมุดก็ไปเห็นพ่อแม่ที่ลาเลี้ยงลูกแบเบาะซึ่งพ่อแม่กลุ่มนี้มีสิทธิ์ลาเลี้ยงลูก 480วันหลังคลอด คนพวกนี้ไม่ทำอะไรนอกจากพาลูกไปอ่านหนังสือห้องสมุด อยู่บ้านเลี้ยงลูก พาลูกไปเที่ยว ทำนู่นทำนี่ด้วยกันโดยที่รัฐจ่ายเงินเดือนให้ คิดดูสิว่าอย่างนี้ไม่ทำให้คนขี้เกียจได้อย่างไร

อีกอย่างด้วยความที่รัฐกำหนดให้ค่าเล่าเรียนฟรี ค่ารักษาพยาบาลไม่ต้องจ่าย มันเลยทำให้คนที่นี่ที่มีงานประจำ ไม่จำเป็นต้องหารำไพ่พิเศษหรือหางานเสริม เลิกงานปั๊บกลับบ้านหรือบางคนไปรับลูกที่โรงเรียน เข้ายิมบ้าง เดินเล่นบ้าง ในสายตาของทุนนิยมแล้วคนพวกนี้ไม่ได้สร้างผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินเลย ถือว่ารัฐล้มเหลวและทำให้ประชากรขี้เกียจนะ อาชีพเสริมวิ่งรอกส่งอาหารตามแอพ หรือเป็นพี่วินมอเตอร์ไซค์หน้าปากซอยนี่อย่าได้พูดถึง รัฐพยายามทุกทางไม่ให้คนขยันขนาดนั้น "

บทความบางตอนโดย
Phra Panya Seesun

ประเทศไทย

  • ค่าครองชีพต่ำ
  • เป็นสังคมแห่งการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เอื้ออาทร
  • เพื่อนทำนา เอาเครื่องสีข้าวไปให้เพื่อน เอาแกรบ รำข้าวมาเลี้ยงไก่ ไก่ออกไข่ ขี้ไก่เป็นปุ๋ยให้มะนาว ไปให้ร้านกาแฟ เบเกอรี่ ได้กาแฟ กินฟรี
  • ผักปลูกเอง ไม่ต้องใช้เงิน
โจน จันได ได้สร้างการยอมรับด้านการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย

Social Conversation (นานาทัศนะ)

one: ผมชอบคำว่า I work hard, why my life very hard นี่คือ key word 😀
two: ถ้า work hard แสดงว่าทำงานไม่เป็น ผม work smart จริงไหม
one: เค้าเจองานโรงงาน นรกมั๊งครับ 😀 จริงครับ แต่คน วิ่งไปหา โจน เพราะ คิดไม่ออกทั้งนั้น 😀
two: ไม่คิดมากกว่า
one: ผมต้องพาพี่ ไป Ted Talk ละ กระตุกดี short wording but get to the point 😀